บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8
วันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
เวลา 08.30 - 11.30 น.
knowledge (ความรู้)
นำเสนอคำคมเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา
นำเสนอวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา
การศึกษาระดับ ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต(การบริหารการศึกษา)
มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้วิจัย นายธีระวัฒน์ มอนไธสง
ปีการศึกษา พ.ศ. 2557
บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหาการวิจัย
ประเด็นที่ 1 ศตวรรษที่ 21 เป็นยุคของเศรษฐกิจฐานความรู้ ที่มีความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
อันสืบเนื่องมาจากการใช้เทคโนโลยีเพื่อเชื่อมโยงข้อมูลทุกภูมิภาคของโลกเข้าด้วยกัน
กระแสการปรับเปลี่ยนทางสังคมที่เกิดขึ้นส่งผลต่อวิถีการดำรงชีพของสังคม
ประเด็นที่
2 คุณภาพการศึกษาของประชากรเป็นปัจจัยบ่งชี้ความได้เปรียบเสียเปรียบในเชิงความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
ประเด็นที่
3 การจัดการศึกษามีความจำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพของประชากร
และสำคัญต่อการพัฒนาประเทศขณะที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะพัฒนาคุณภาพของการจัดการศึกษาเพื่อให้มีศักยภาพสามารถที่จะแข่งขันกับนานาประเทศได้
ประเด็นที่ 4 แนวคิดเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนเกิดจากความต้องการในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างเป็นระบบโดยมุ่งหวังให้เกิดความเสมอภาคของการให้บริการการศึกษาแก่เด็กไทยทุกคนมีความเท่าเทียมกันในคุณภาพของการจัดการศึกษาในโรงเรียน
และลดความเหลื่อมล้ำในคุณภาพของผลผลิต
ประเด็นที่ 5 การก้าวไปสู่ประชาคมอาเซียนโรงเรียนที่จะประสบผลสำเร็จเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน
ซึ่งเป็นผลมาจากองค์ประกอบที่มีประสิทธิผล การเลือกใช้รูปแบบที่ดีที่สุดที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์ที่เกิดในขณะนั้น
และการคิดค้นพัฒนารูปแบบการบริหารใหม่
ๆ ที่มีการแสดง หรืออธิบายให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบสำคัญ ๆ
ที่ใช้เพื่อการบริหาร
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1.
เพื่อศึกษาองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
2.
เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
3. เพื่อตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.
สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลที่ชัดเจนและเป็นไปได้
2.
องค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนที่สถานศึกษาอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
การวิจัยครั้งนี้
มุ่งศึกษารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
จากการศึกษาค้นคว้าแนวคิด ทฤษฎี ตลอดจนเอกสาร และงานวิจัย
ต่าง ๆ
ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตเนื้อหา ดังนี้
1.
นโยบายด้านการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
ประกอบด้วย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)
1.1
นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน
1.2
นโยบายที่ 2 การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสม
1.3
นโยบายที่ 3 การพัฒนามาตรฐานการศึกษา
1.4
นโยบายที่ 4 การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียน
1.5
นโยบายที่ 5 การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคม
2.
องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่มี สรุปได้ 9 หัวข้อสำคัญได้แก่
1)ภาวะผู้นำ
2)ความคาดหวังสูง
3)การมีวิสัยทัศน์ และเป้าหมายที่ชัดเจน
4)การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นวิชาการ
5)กระบวนการจัดการเรียนการสอน
6)บรรยากาศสภาพแวดล้อมขององค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้
7)การนิเทศกำกับติดตามผล
8)การมีส่วนร่วมของชุมชน/ผู้ปกครอง และ
9)การพัฒนาวิชาชีพครู
ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย
ตัวแปรต้น
องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษา 9 ประเด็นได้แก่
1) ภาวะผู้นำ
2) ความคาดหวังสูง
3) การมีวิสัยทัศน์และ เป้าหมายที่ชัดเจน
4)
การพัฒนาหลักสูตรที่เน้นวิชาการ
5) กระบวนการจัดการเรียนการสอน
6)
บรรยากาศสภาพแวดล้อมขององค์การที่เอื้อต่อการเรียนรู้
7) การนิเทศกำกับติดตามผล
8) การมีส่วนร่วมของชุมชน/ผู้ปกครอง
9)
การพัฒนาวิชาชีพครู
ตัวแปรตาม
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล
นิยามศัพท์เฉพาะ
การบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล หมายถึง
ความสามารถในการบริหารงานในโรงเรียนด้วยความ
เป็นมืออาชีพของครู และผู้บริหาร
ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของการบริหารงานของโรงเรียนทั้ง4 งาน คือ
1)การบริหารงานวิชาการ
2)การบริหารงานงบประมาณ
3)การบริหารงานบุคคล และ
4)การบริหารงานทั่วไป
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล
หมายถึง รูปแบบการบริหารโรงเรียนรูปแบบหนึ่งของ
โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
อันประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก
ของกระบวนการบริหารที่มีความสัมพันธ์
และเกี่ยวเนื่องกันอย่างเป็นระบบซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของ
การบริหารงานของโรงเรียนทั้งสี่งาน
สมมุติฐานการวิจัย
เพื่อให้สอดคล้องกับข้อคำถามของการวิจัยผู้วิจัยจึงตั้งสมมุติฐานของการวิจัย ดังนี้
1.
องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนเป็นพหุองค์ประกอบ
2.
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนเป็นพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กัน
มีความเหมาะสม
3.
กลุ่มโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนมีองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล
ที่เด่นชัดแตกต่างกัน
แนวคิดทฤษฏีทางการบริหาร
แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล
Robbins
(1999) เสนอว่าวิธีวัดประสิทธิผลขององค์การมีอยู่สี่วิธีด้วยกัน
คือ
1) วัดจากความสามารถขององค์การในการบรรลุเป้าหมาย
2) วัดโดยอาศัยความคิดระบบ
3) วัดจากความสามารถขององค์การในการชนะใจผู้มีอิทธิผล
4) วัดจากค่านิยมที่แตกต่างกันของสมาชิกองค์การ
Edmonds (1979) ได้เสนอแนวคิดที่นำไปสู่ความเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผลด้วยปัจจัย
5 ประการ
1. ภาวะผู้นำที่แข็งแกร่งของผู้บริหาร
2.
ความเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านทักษะพื้นฐาน
3.
สภาพแวดล้อมของโรงเรียนที่สะอาดเรียบร้อยและปลอดภัย
4.
ความคาดหวังของครูที่มีต่อนักเรียนในระดับสูง
5. การเฝ้าติดตามประเมินความก้าวหน้าของนักเรียนอย่างต่อเนื่อง
Pierce (1991) ได้วิเคราะห์ลักษณะการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผล
ในปี ค.ศ. 1991พบว่ามีลักษณะ ดังนี้
1. การให้ความเคารพกับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
2.
การพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่เน้นการสร้างครูที่ช่วยเหลือนักเรียนที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม
3. หลักสูตรที่เน้นการ บูรณาการและพัฒนาได้มากกว่าทักษะพื้นฐาน
4. การส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความร่วมมือในการวางแผนกับครู
5.
การมีส่วนร่วมในการดูแลนักเรียนระหว่างครูและผู้ปกครอง
วิธีดำเนินการวิจัย
ประชากร
บุคลากรสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคม
อาเซียน
ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้เป็นโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่
ประชาคมอาเซียน
จำนวน 68 โรง ประกอบด้วยโรงเรียนประเภท Sister school จำนวน 30
โรง โรง
เรียประเภท Buffer school จำนวน 24
โรงและโรงเรียนประเภท ASEAN focus school
จำนวน 14
โรง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553)
กลุ่มตัวอย่าง
ผู้อำนวยการโรงเรียน
และรองผู้อำนวยการโรงเรียนหรือครูที่เป็นหัวหน้างานทั้งสี่งานในโรงเรียนต้นแบบ
การพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกำหนดให้เป็นโรงเรียน
ต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนจำนวน
68 โรง ประกอบด้วย โรงเรียนประเภท Sister
school จำนวน 30
โรง โรงเรียนประเภทBuffer school จำนวน 24
โรง และโรงเรียนประเภท
ASEAN focus school จำนวน 14
โรง (กระทรวงศึกษาธิการ, 2553) จำนวนทั้งสิ้น 340 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เป็นแบบสอบถามจำแนกออกเป็นสามตอน มีรายละเอียด ดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามได้แก่ เพศ อายุ การศึกษา
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ
มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ
ตอนที่ 2
เป็นคำถามเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบ
การพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
มีลักษณะเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า (rating
scale) ของลิเคิร์ท (1961)
สอบถามระดับการปฏิบัติตามสภาพที่เป็นจริง 5 ระดับ ดังนี้
ระดับ 5 หมายถึง
การปฏิบัติตรงสภาพที่เป็นจริงมากที่สุด
ระดับ 4 หมายถึง
การปฏิบัติตรงสภาพที่เป็นจริงมาก
ระดับ 3 หมายถึง
การปฏิบัติตรงสภาพที่เป็นจริงปานกลาง
ระดับ 2 หมายถึง
การปฏิบัติตรงสภาพที่เป็นจริงน้อย
ระดับ 1 หมายถึง
การปฏิบัติตรงสภาพที่เป็นจริงน้อยที่สุด
ตอนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวความคิดเห็น และข้อเสนอแนะอื่นๆ เป็นคำถามปลายเปิด
การดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอน
ดังนี้
1.ขอหนังสือจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการเชิญผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ
เครื่องมือวิจัย
หนังสือขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการทดลองแบบสอบถาม (try
out) และหนังสือขอความอนุเคราะห์ในการเก็บรวบรวมข้อมูลวิจัยประกอบการทำวิทยานิพนธ์
2.
เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการส่งแบบสอบถามไปยังตัวอย่างทางไปรษณีย์
และรอการตอบกลับทาง
ไปรษณีย์
3.
ในกรณีที่ยังไม่ได้รับแบบสอบถามคืนตามเวลาที่กำหนด
ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปให้ผู้บริหาร
โรงเรียนซ้ำอีก และ
ขอความร่วมมือส่งคืนทางไปรษณีย์ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้วิจัยส่ง
แบบสอบถามจำนวน
340 ได้รับกลับคืนมา 308 ฉบับ เมื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของการตอบ
แบบสอบถามแล้วใช้ได้ทั้ง
308 ฉบับคิดเป็นร้อยละ 90.59 ผู้วิจัยจึงนำแบบสอบถามที่มีความ
สมบูรณ์ทั้ง 308
ฉบับมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
การวิจัยครั้งนี้ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากแบบสอบถาม
ผู้วิจัยทำการประมวลผลข้อมูลทางสถิติโดยใช้
เครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป
1.
การวิเคราะห์ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของแบบสอบถาม ประกอบด้วย เพศ อายุ วุฒิการศึกษา
ตำแหน่งที่รับผิดชอบ และประสบการณ์ในการรับผิดชอบงาน โดยใช้ค่าความถี่ค่าร้อยละ
2.
ค่าสถิติพื้นฐานของตัวแปรในการวิจัย ใช้ค่าเฉลี่ย
ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าความเบ้ ค่าความ
โด่ง และค่าความแปรปรวน
3.
การวิเคราะห์องค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการ
พัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ด้วยวิธี factor analysis ประเภท exploratory factor analysis ที่
หมุนแกนโดยวิธี
orthogonal rotation สกัดปัจจัยของตัวแปรโดยวิธี principal
componentsพิจารณาค่า eigenvalue (λ ) มากกว่า 1
เท่านั้น หากมีค่าน้อยกว่า 1
แสดงว่าปัจจัย
นั้นมีรายละเอียดของข้อมูลน้อยกว่าตัวแปรใดตัวแปรหนึ่งเพียงตัวเดียว
หรือเป็น 0 แสดงว่าปัจจัยนั้นไม่
สามารถดึงรายละเอียดของข้อมูลจากตัวแปรได้เลย
(กัลยา วานิชย์บัญชา, 2552)
4.
การวิเคราะห์รูปแบบองค์ประกอบบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่
ประชาคมอาเซียนด้วยวิธี
one-way
ANOVA ที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 และการวิเคราะห์การถดถอย
พหุคูณ (Multiple regression Analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิผลของโรงเรียน
ต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียนกับองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษา ที่อาศัยความสัมพันธ์เชิง
เส้นตรงระหว่างตัวแปรมาใช้ในการทำนาย(บุญชม ศรีสะอาด,
2547)
5.
การวิเคราะห์เพื่อตรวจสอบรูปแบบการจัดกลุ่มองค์ประกอบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มี
ประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
ด้วยวิธีการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มโรงเรียน
ด้วยเทคนิค cluster analysis แบบ two-step cluster analysis ที่สามารถคำนวณหาจำนวนกลุ่ม
ที่ต้องการแบ่งในกรณีที่มีประชากรจำนวนมากได้โดยอัตโนมัติโดยไม่ต้องกำหนดจำนวนกลุ่มก่อน
แต่
สามารถแบ่งจำนวนกลุ่มให้มีจำนวนกลุ่มสูงสุด คือ 15 กลุ่ม และต่ำสุด คือสองกลุ่ม
และดูค่า
บรรทัดฐานของ Schwarz’s Bayesian Criterion (BIC) หรือ Akaike’s
Information
Criterion (AIC) ที่ตารางผลลัพธ์ คือ
เมื่อค่าดังกล่าวน้อยที่สุดจะได้กลุ่มที่เหมาะสม หรือดูจาก
ค่าratio of
distance measures ที่ตารางผลลัพธ์คือ เมื่อค่าดังกล่าวมากที่สุด จะได้กลุ่มที่เหมาะ
สม เช่นเดียวกัน (นำชัย ศุภฤกษ์ชัยสกุล, 2553)
สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัย สรุปได้ว่า
รูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนา
สู่ประชาคมอาเซียนมีสองรูปแบบ
คือ รูปแบบมุ่งเน้นการนิเทศ กับรูปแบบมุ่งเน้นเป้าหมาย
สถานศึกษา
สามารถที่จะนำไปใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดนั้น
สถานศึกษาต้องยึดหลักการกระจายอำนาจใน
การตัดสินใจโดยมุ่งไปที่การตัดสินใจร่วมกันในการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้อง
กับความต้องการของผู้เรียน และชุมชน
จึงทำให้รูปแบบการบริหารโรงเรียนที่มีประสิทธิผลเป็นรูปแบบที่
มุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างแท้จริง
ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจวิจัย และเกี่ยวข้องกับการ
วิจัยดังต่อไปนี้
1.
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาข้อมูลจากตัวอย่างที่เป็นผู้บริหารสถานศึกษา ควรมีการศึกษากับตัวอย่าง
อื่นด้วย เช่น ตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอน นักเรียน
ผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษาร่วมด้วย เพื่อให้
ครอบคลุมตัวอย่างมากยิ่งขึ้น
2.
ควรศึกษาวิจัยในการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนา
สู่ประชาคมอาเซียนไปทดลองใช้ในการบริหารงานของโรงเรียนเพื่อสรุปภาพรวมของรูปแบบและความ
ถูกต้องเหมาะสมของแต่ละองค์ประกอบ
3.
ควรมีการศึกษาวิจัยถึงคุณลักษณะ
หรือตัวบ่งชี้ของการบริหารโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคม
อาเซียน
เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพของโรงเรียน
4.
ควรศึกษาวิจัยถึงสภาพปัญหา หรืออุปสรรค
ของโรงเรียนต้นแบบการพัฒนาสู่ประชาคมอาเซียน
เพื่อ
จะได้เป็นข้อมูลในการพัฒนาโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพต่อไป
วิจัยอื่นๆเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษา
ภาพบรรยากาศการนำเสนอ
คำศัพท์ (VOCAB)
research >> วิจัย
ASEAN f>> ประชาคมอาเซียน
Management >>การบริหาร
director >> ผู้อำนวยการ
develop >> การพัฒนา
leader >> ผู้นำ
Application (การประยุกต์ใช้)
-สามารถนำความรู้ในการนำเสนอวิจัยไปใช้ในการเรียนการสอนได้ ทั้งวิธีการทำวิจัย ได้รู้การดำเนินการในการทำวิจัยที่สามารถนำไปปรับใช้ได้
Evaluation(การประเมิน)
Teacher (อาจารย์)
-อาจารย์มาสอนตรงเวลา อธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในการนำเสนอ ให้ข้อแนะนำต่างๆในการนำเสนอ
Self(ตนเอง)
-มาเรียนตรงเวลา ตั้งใจนำเสนอและร่วมกิจกรรมกับเพื่อนในกลุ่ม
Friends (เพื่อน)
-มีการนำเสนอที่หลากหลาย ไม่ส่งเสียงดังในขณะที่เพื่อนกลุ่มอื่นนำเสนอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น